.แปลบทความ : The Performance Bias: ชีวิตไม่จริงไม่เหมือนในหนังหรือนิยาย




*note บทความความนี้พูดถึงแนวคิดเรื่องของ Socail Media ในเชิงลบทั้งหมดแน่นอนว่า Social Media มีทั้งข้อดีและข้อเสีย อย่างไรก็ตามหวังว่าการแปลครั้งนี้จะสร้างความตระหนักรู้อะไรบางอย่างหรือให้ความรู้ได้บ้าง /กราบ
**เนื้อหาภายในบทความนี้ผู้แปลไม่ได้คิดเองทั้งหมด เพียงแต่แปลเรียบเรียงใหม่ในหลายๆส่วนเพื่อหวังให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น หากอยากติง/ชม/สงสัยตรงไหนก็สามารถุ inbox มาได้เลยนะครับ



The Performance Bias: Life Is Not a Movie, Life Is Not a Novel

Tyler Cowen นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันได้ทำการสำรวจความคิดของคนกลุ่มหนึ่งโดยให้พวกเขาลองให้คำอธิบายชีวิตของพวกเขา คนบางส่วนตอบว่าชีวิตของพวกเขานั้นยุ่งเหยิง แต่อีกส่วนหนึ่งกลับมองว่าชีวิตของพวกเขาเป็นเหมือนนิยายหรือเรื่องเล่า โดยสาเหตุที่เรามองชีวิตเป็นเหมือนนิยายหรือเรื่องเล่าเพราะว่าหากเรามองย้อนไปที่เรื่องราวในอดีต เรื่องราวเหล่านี้มักจะมีจุดเริ่มต้นและจุดจบในทุก ๆ เรื่องเสมอ โดยเป็นเราที่กำหนดจุดจบของเรื่อง เราลืมเหตุการณ์ที่ไม่มีความสำคัญและตัดทิ้งความทรงจำที่ไม่สำคัญออกไปได้เหมือนกับการแต่งนิยาย

ในโลกของโซเชียลมีเดีย สื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ยั่วยวนให้เราบอกเล่าเรื่องราวของเราออกไป ทำ Feature ให้น่าสนใจเพื่อให้เราบอกเล่าเรื่องราวออกไป ไม่ว่าจะเป็น อินสตาแกรม เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ และเหล่าผู้ชม เพื่อนๆ และผู้ติดตามของคุณ นั้นรอรับฟังและรับชมเรื่องราวของคุณตลอดเวลา ลองนึกถึงโพสต์ที่เคยโพสต์เอาไว้ในสื่อเหล่านี้ สื่อพวกนี้เป็นสื่อที่ดีมากก็จริง แต่ก็เห็นได้ชัดเจนว่าสื่อเหล่านี้มีกระบวนการคัดกรองเฉพาะตัวสำหรับโพสต์และเนื้อหาที่เราจะลง โดยเราอาจจะไม่รู้ตัวว่าเวลาลงรูปอาหารจะต้องหามุมถ่ายให้สวย ปรับให้ดูดีน่ากิน รูปเราจะต้องโทนสีนี้ เหมือนดาราคนนี้ ต้องดูดีในรูปแบบที่ไม่เหมือนใครหรือไม่ก็จะดูเหมือนพวกขี้แพ้หรือไม่ก็พวกน่าเบื่อ

ในเชิงทฤษฎี สื่อเหล่านี้ทำหน้าที่ผลักดันให้เราเผยแพร่เรื่องราวที่ผิดกับความเป็นจริงออกไปทำให้เกิดพื้นที่สำหรับการจัดแสดงศิลปะแบบฟรี ๆ เคยมีความรู้สึกลังเลสุดๆก่อนที่จะโพสต์อะไรลงสื่อโซเชียลมีเดียไหม ว่ามันจะดีพอรึเปล่าที่จะโพสต์ลงไป ความรู้สึกเวลาเห็นรูปที่รู้ว่าถ้าโพสต์ไปคนอื่นจะต้องอิจฉาและความรู้สึกดีใจเวลาที่ถ่ายภาพออกมาได้ดีอย่างไม่มีที่ติเพื่อเอาไปโพสต์อวดเพื่อน ๆ ทุกวันนี้อาจจะเหมือนว่าพวกเรานั้นเชื่อมต่อกันอยู่ผ่านสื่อโซเชียลเหล่านี้ แต่ที่จริงแล้วไม่เลย พวกเราตัดขาดออกจากกันมากกว่าเดิมเสียอีก เราไม่แม้แต่จะรับรู้ถึงประสบการณ์จริง ๆ ที่เราประสบ แต่กลับรับรู้ผ่านเลนส์ที่ใส่สีใส่ฟิลเตอร์ที่ประดิษฐ์และดัดแปลงประสบการณ์นั้น ๆ แล้วนับประสาอะไรกับโพสต์จากคนอื่น ๆ 

ประเด็นนี้ไปตรงกับแนวคิดทางวิทยาศาตร์ หนึ่ง ชื่อว่า “Publication Bias” ซึ่งถูกค้นพบเมื่อราว ๆ ต้นคริสตศักราชที่ 1960 กล่าวถึงข้อสังเกตุที่น่าสนใจของงานตีพิมพ์เชิงวิชาการว่า นักวิชาการส่วนใหญ่มักไม่ตีพิมพ์งานวิจัยที่ล้มเหลว เพราะไม่มีใครต้องการที่จะเผยแพร่ความล้มเหลวออกไปและไม่มีหนังสือพิมพ์หรือสื่อไหนให้พื้นที่กับงานวิจัยที่ไม่ได้พิสูจน์อะไรให้แก่สังคม ดูๆไปแล้วกรณีนี้อาจจะเหมือนไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ถ้าเรามองดูดี ๆ นั่นหมายความว่างานวิจัยวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มักเป็นแง่บวกทั้งหมด ทั้งที่ความจริงแล้วการทดลองส่วนใหญ่มักล้มเหลวและบางทีก็ไร้ความหมายจึงทำให้เกิดเป็นการให้ภาพที่ผิด ทำให้เรารับรู้ว่าเรารู้มากกว่าความเป็นจริงที่เรารู้น้อย คุณเคยเห็นเพื่อนคนที่กำลังผ่านพ้นช่วงเวลาที่ความสัมพันธ์ระหว่างคู่กำลังมีปัญหาอย่างหนัก แต่กลับโพสต์รูปว่ากำลังรักกันอย่างหวานชื่น เหมือนกับว่าพวกเขาอยากให้ความสัมพันธ์มันดีขึ้น หรือคนที่กำลังขัดสนด้านการเงินอย่างหนักแต่กลับลงรูปมีชีวิตสวยหรูบนอินสตาแกรม หรือแม่แต่คุณเองเคยไหม โพสต์เหมือนกับว่าชีวิตกำลังดี ทั้งที่ความจริงไม่เป็นอย่างนั้นเลย

นั่นแหละเราเรียกมันว่า “Publication Bias” หรือ “Performance Bias”

นักเขียนอย่างผม(Ryan Holiday)ก็เช่นกัน ผมมองชีวิตผมเหมือนวัตถุ ไม่มีใครเคยเห็นงานเขียนที่ยังเรียบเรียงได้ไม่มีของผม ไม่มีใครเคยเห็นช่วงเวลาที่ผมไม่มั่งคงหรือไม่มั่นใจ ช่วงเวลาที่น่าอายหรือผมไม่อยากเล่าออกไปผมก็จะไม่เขียนมันเช่นกัน เป็นสาเหตุที่งานเขียนของผมก็มีการตัดส่วนต่าง ๆ ออกไปเป็นจำนวนมาก มันเป็นเรื่องจริงที่นักเขียนต้องเผชิญ

Casey Neistat, Vlogger ที่เผยแพร่ชีวิตที่ทั้งโลดโผน น่าสนุก หรูหราและ น่าอิจฉา ของเขา และผมรู้ว่าถ้าคุณเคยดู Vlog ของเขา คุณต้องอิจฉาแน่ ๆ แต่จงอย่าลืมว่าเราเห็นเพียงแค่ 5-10 นาที จากสิ่งที่เขาต้องทำทั้งวัน หรือเพื่อนนักเขียนของผม Tukker เขาขายหนังสือที่เล่าเกี่ยวกับชีวิตของเขาออกไปได้กว่าล้านเล่ม หนังสือนี้บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของเขาที่แน่นอนว่าทั้งสนุก ทั้งบ้าระห่ำ แต่มันก็เป็นเพียงแค่ด้าน ๆ หนึ่งของชีวิตเขาเท่านั้นหรือยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นเพียงแค่อีกเสี้ยวหนึ่งที่แบ่งออกมาจากช่วงเวลานั้น ๆ ของเขา ลองนึกถึงหนังสือสัก 3 เล่มที่บอกเล่าเรื่องราวของทั้ง 1 ทศวรรษกว่า ๆ คุณคิดว่ามันจะสามารถบอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดได้ไหม ในช่วงเวลาตลอดชีวิตผม ผมอ่านหนังสือมาเป็นจำนวนมากแต่กลับพบหนังสือเพียงแค่ 2 เล่มที่บอกเล่าถึงความล้มเหลว มันเป็นกระบวนการคัดสรรและคัดกรองอย่างบ้าคลั่ง ผมมักจะให้แฟนหนังสือดูรูปเบื้องหลังจากถ่ายปกหนังสือของผมที่บยปกตัวผมนั้นจะดูดีมาก แต่รูปเบื้องหลังผมเพียงแค่ใส่กางเกงยีนส์เสื้อยืดธรรมดาเท่านั้นเอง ทำให้ผมตระหนักได้ว่าโลกแห่งความเป็นจริงเริ่มเหลือพื้นที่น้อยลงแล้ว สิ่งที่เหลืออยู่ที่เรามองเห็นมักหลอกลวง ฟิลเตอร์บนอินสตาแกรมทำให้มันหม่นดูสดใส ทวีตเพียงหนึ่งครั้งสร้างความแตกต่างและข้อเรียกรองได้อย่างไม่สมเหตุสมผล การแชร์โพสต์บทความที่จริง ๆ แล้วไม่มีใครสนใจจะอ่าน

สิ่งเหล่านี้ ส่งผลให้เราตัดขาดออกจากเรื่องราวจริง ๆ เหตุการณ์จริงและยังตัดขาดเราจากคนอื่น ๆ ในสังคม ที่ทั้งบริโภคผลงานเพื่อสร้างความริษยา สร้างความเหนือกว่า สร้างความขัดแย้ง โดยที่ถูกสร้างโดยพวกเขาเอง และคนหนุ่มสาวที่เป็นเหมือนเป็นนักกีฬาที่น่าสงสาร ขาดการชี้แนะและกลัวการไม่มีเหมือนคนอื่น ความต้องการให้เรื่องราวเพ้อฝันที่เห็นบนโลกออนไลน์เกิดขึ้นกับชีวิตพวกเขา 
มันจะไปจบที่ตรงไหน ที่แน่ ๆ คงไม่ใช่ความสุข


All credit goes to : Ryan Holiday

ความคิดเห็น